Image

สาขาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล (WGHAPAS)

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย
Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT)
ขอบเขตและเป้าหมาย
ขอบเขตของคณะทำงานผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลที่ครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่งเสริมฮาลาล มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการค้าและการลงทุนในผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล คณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลจะดำเนินการต่อยอดในระบบนิเวศเศรษฐกิจอิสลาม นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจในการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม IMT-GT เพื่อเจาะตลาดฮาลาลทั่วโลก
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ระบบนิเวศเศรษฐกิจอิสลามของอนุภูมิภาค IMT-GT พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มาเลเซียเป็นผู้นำเศรษฐกิจอิสลามโลก 8 ปีซ้อน อินโดนีเซียขยับขึ้นเป็นอันดับ 4 ทั้งนี้ในประเทศอินโดนีเซีย ข้อกำหนดการรับรองฮาลาลสำหรับผลิตภัณฑ์ฮาลาลทั้งหมดตั้งแต่ปี 2019 ได้นำไปสู่การเติบโตอย่างมากในภาคอาหารฮาลาล ยา และเครื่องสำอาง ประเทศไทยซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นประเทศที่มีแนวโน้มจะมีความก้าวหน้าอย่างมากในการจัดอันดับโลกด้านเศรษฐกิจอิสลาม เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงข้อมูลการรับรองด้านการรับรู้ทางการเงินอิสลามและโอกาสในการนำเสนอการท่องเที่ยวแบบฮาลาล

ความท้าทาย
การลงทุนในเศรษฐกิจอิสลามลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังจากการระบาดของ COVID -19 โดยลดลง 13% คิดเป็นมูลค่า 1.18 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2562-2563 จาก 13.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2561-2562 ทั้งนี้ผลกระทบของการแพร่ระบาดส่งผลต่อคณะทำงานในทุกภาคส่วน โดยภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหนักที่สุด ทั้งนี้สถานการณ์การส่งออกสินค้าฮาลาลของประเทศมาเลเซียกลับมามีมูลค่าไม่ถึง 2 หมื่นล้านริงกิตจากเป้าหมาย โดยมูลค่า 3.1 หมื่นล้านริงกิตในปี 2563 สำหรับอนุภูมิภาค IMT-GT ตลาดฮาลาลยังไม่ได้รับการบูรณาการที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดระบบการรับรองที่สอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาภายในที่ต้องเผชิญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลใน IMT-GT เช่น การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและแรงงานฝีมือ และการขาดศักยภาพและทรัพยากรในกลุ่ม MSMEs เพื่อนำไปสู่การนำระบบดิจิทัลมาใช้

โอกาส
ในปี 2562 ชาวมุสลิมใช้จ่าย 2.02 ล้านล้านดอลลาร์กับอาหาร ยา เครื่องสำอาง แฟชั่น การท่องเที่ยว และสื่อ แม้ว่าการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่าย แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคในภาคเศรษฐกิจอิสลามคาดว่าจะฟื้นตัวภายในสิ้นปี 2564 โดยตลาดมีขนาดถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2567 ทั้งนี้การใช้จ่ายทั่วโลกด้านอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลคาดว่าจะสูงถึง 1.38 ล้านล้านดอลลาร์ จากผลการสำรวจออนไลน์และข้อเสนอแนะจากสมาชิกคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล ปรากฏว่ากรอบยุทธศาสตร์ที่มีอยู่ของคณะทำงานเน้นผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลที่ให้บริการอนุภูมิภาค IMT-GT โดยเฉพาะการแนะนำจากสมาชิก ประเทศต่าง ๆ ในการเสริมสร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจอิสลามภายในประเทศ สิ่งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกในการปฏิบัติตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในกรอบยุทธศาสตร์ปี 2560-2564 อย่างเป็นรูปธรรม
 
ข้อสั่งการและแนวทางสําหรับแผนงานปี 2566
  • การส่งมอบตําแหน่งประธานคณะทํางานสาขาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล (WGHAPAS) Mr. Muhammad Aqil Irham หัวหน้าหน่วยงานรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล (BPJPH) กระทรวงกิจการศาสนา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประธานคณะทํางาน (WGHAPAS) คนใหม่ ปี 2566 – 2568
  • คณะทํางานเสนอชื่อและรายละเอียดติดต่อคณะทํางานเฉพาะกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมฮาลาล (SHICTF)
  • คณะทํางานสรุปแผนปฏิบัติการภายใต้คณะทํางานเฉพาะกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมฮาลาล (SHICTF)
ที่มา : สำนักงานฝ่ายเลขานุการกรอบการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด (CMGF)
สำนักงานฝ่ายเลขานุการฯ CMGF (CMGF Secretariat Thailand)
สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม อาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้(LRC) ชั้น10
15 ถนนกาญจนวนิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110