การประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 30 แผนงาน IMT-GT (30TH IMT-GT MINISTERIAL MEETING) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 สำนักงานฝ่ายเลขานุการฯ CMGF ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 30 แผนงาน IMT-G ณ เมืองเดซารู รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมี MR. RAFIZI RAMLI รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจมาเลเซีย เป็นประธานการประชุมฯ DR. EDI PRIO PAMBUDI รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงประสานเศรษฐกิจ หัวหน้าคณะผู้แทนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และคุณศศิธร พลัตถเดช ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยนอกจากนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมที่สำคัญประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และรองผู้ว่าราชการจังหวัด 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี ผศ.ดร. จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ ผศ.ดร.นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม อ.นพ.วิธู พฤกษนันท์ รองผู้อำนวยสำนักพัฒนาฯ ผศ.ดร.เพ็ชรัตน์ สุริยะไชย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์เชิงรุก คณะวิศวกรรมศาสตร์ นายไพโรจน์ โพธิวงศ์ ที่ปรึกษาสำนักงานฝ่ายเลขานุการฯ CMGF MR. AMRI BUKHAIRI BAKHTIAR ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาค แผนงาน IMT-GT (CIMT) รวมทั้งผู้แทนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) สภาธุรกิจร่วม (JBC) ผู้แทนเครือข่ายมหาวิทยาลัย (UNINET) และผู้เข้าร่วมประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ :
- IMT-GT ขับเคลื่อนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอาเซียน : IMT-GT เป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำและเร่งการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน
- กลไกความร่วมมือระดับท้องถิ่น : การมีส่วนร่วมของมุขมนตรีรัฐและผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นจุดเด่นของ IMT-GT ช่วยผลักดันโครงการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและภาคเอกชนในพื้นที่
- ความร่วมมือจากภาคเอกชนและประชาสังคม : สำคัญต่อการพัฒนาโครงการต่าง ๆ เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณของภาครัฐ
- มุ่งสู่โครงการอนุภูมิภาคที่มีผลกระทบสูง : IMT-GT ต้องการพัฒนาโครงการระดับอนุภูมิภาคที่มีนัยสำคัญ นอกเหนือจากโครงการระดับชาติที่ดำเนินการในปัจจุบัน
- กรอบเศรษฐกิจสีน้ำเงินอาเซียน : เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการความร่วมมือทั้งระดับชาติและอนุภูมิภาค โดยอาเซียนพร้อมให้การสนับสนุนผ่านเครือข่ายองค์กรระหว่างประเทศ
- ระเบียงเศรษฐกิจ IMT-GT : เป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงพื้นที่และนำไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ IMT-GT