Image

สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (WGHRD)

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย
Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT)
ขอบเขตและเป้าหมาย
ขอบเขตของคณะทำงานสาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (WGHRD) ครอบคลุม:
    - การพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานในอนุภูมิภาค IMT-GT
   - ปรับปรุงการเคลื่อนย้ายแรงงานผ่านการแบ่งปันข้อมูล การสร้างความตระหนัก การเสริมสร้างศักยภาพแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะทำงานนี้มีเป้าหมายเพื่อให้มีแรงงานที่สามารถแข่งขันได้ ยกระดับการเคลื่อนย้ายแรงงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน และการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลที่แข็งแกร่งภายในปี 2569
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และวัฒนธรรม (WGHRDEC) มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างทุนมนุษย์ใน IMT-GT ในช่วงแผนปฏิบัติการ IB ปี 2017–2021 คณะทำงานได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพโดยเน้นไปที่ (i) การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม และ (ii) การเสริมความแข็งแกร่งทางเทคนิคของทักษะความสามารถ คณะทำงานยังมีส่วนในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างศูนย์ฝึกอบรมและสถาบันการศึกษาในอนุภูมิภาค ก่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้และการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) ใช้ประโยชน์จากคณะทำงานเพื่อขยายเครือข่าย การลงนามในกฎบัตร UNINET ในปี 2560 ทำให้ UNINET เป็นองค์กรระดับอนุภูมิภาคมากขึ้น และกำหนดวาระความร่วมมืออย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐ 27 แห่งเป็นสมาชิกของ UNINET ในการประชุมระดับรัฐมนตรี IMT-GT ครั้งที่ 27 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ยินดีกับข้อเสนอของ UNINET ในการขยายสมาชิกไปยังมหาวิทยาลัยเอกชนและทำหน้าที่เป็นคลังความคิดสำหรับเครือข่าย UNINET ในอนุภูมิภาค IMT-GT ไม่เพียงแต่สนับสนุนการสร้างชุมชนฐานความรู้ใน IMT-GT เท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความเหนียวแน่นทางสังคมของอนุภูมิภาคผ่านกิจกรรมและโปรแกรมกีฬาต่างๆ หลังจากการตัดสินใจในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 27 ปัจจุบัน UNINET เป็นองค์กรอิสระในอนุภูมิภาค โดยทำหน้าที่หลักในฐานะคลังสมองของ IMT-GT และเป็นองค์กรหลักในอนุภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้ พื้นที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และวัฒนธรรมจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะทำงานที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังนั้นจึงกลายเป็นคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (WGHRD)

ความท้าทาย
คณะทำงานมีความก้าวหน้าในการพัฒนาโครงการ Superfruits โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมนี้มุ่งเน้นไปที่โครงการ Superfruits เท่านั้น โดยรวมแล้วคณะทำงานไม่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและกว้างขวางกับภาคเอกชน เป็นผลให้ต้องเผชิญกับความท้าทายในการออกแบบโครงการเสริมสร้างศักยภาพที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะของอุตสาหกรรม
การขาดการมีส่วนร่วมและการประชุมกับคณะทำงานหลัก(การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร การท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล) ได้เพิ่มปัญหาในเรื่องของคณะทำงานส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลตลาดแรงงานมากพอที่จะแบ่งปันไม่มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรม เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากการขาดการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในกระบวนการ IMT-GT ดังนั้นคณะทำงาน จึงเผชิญกับความท้าทายในการจัดฝึกอบรมทักษะตามความต้องการ

โอกาส
การระบาดของ COVID-19 ได้เร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ทำให้ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องร่วมมือในการสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน และส่งผลให้เกิดการการดำเนินการด้านสภาพอากาศเร่งด่วนมากขึ้น การกลับเข้าสู่ภาวะ New Normal จะเกิดความต้องการที่มากขึ้นสำหรับกิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพที่มุ่งเน้นไปที่ (i) การส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลและความรู้ (ii) การแนะนำการศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (iii) การเพิ่มทักษะเพื่อการจ้างงาน (iv) การเพิ่มขีดความสามารถของ MSMEs ในการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าระดับภูมิภาค (v) การปรับปรุงการอำนวยความสะดวกทางการค้า (vi) การส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (vii) การใช้วิธีการแนวทางเพื่อโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว และ (viii) การส่งเสริมเรื่องการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคณะทำงานจะพยายามสร้างช่องทางเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการในการสร้างขีดความสามารถที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดนี้
 
ข้อสั่งการและแนวทางสําหรับแผนงานปี 2566
  • การส่งมอบตําแหน่งประธาน (WGHRD) : Dr. Zaki Zakaria รองเลขาธิการแผนกนโยบาย จากกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ประเทศมาเลเซีย เป็นประธานคนใหม่สําหรับปี 2566 – 2568
  • คณะทํางานฯทํางานอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของแรงงานและอุตสาหกรรมโดยการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรที่มีทักษะผ่านทางเทคนิค อาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (TVET) เพื่อให้ทันกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและการปฏิวัติอุตสาหกรรม (IR) 4.0
ที่มา : สำนักงานฝ่ายเลขานุการกรอบการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด (CMGF)
สำนักงานฝ่ายเลขานุการฯ CMGF (CMGF Secretariat Thailand)

สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม (OMS) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC1) ชั้น 1 โทร 074-286977 โทรสาร 074-286971